วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

หลอดเลือดสมองโป่งพองไม่มีอาการแต่...อันตรายถึงชีวิต



                 นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคประสาท และหลอดเลือดสมองเตือนภัยเงียบเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง เมื่อก่อนโรคนี้มักเป็นในคนอายุมาก และมีปัจจัยเสี่ยงเสริมกระตุ้นให้เกิดโรค เช่น ในฤดูหนาว ความเย็นจะกระตุ้นให้เส้นเลือดหดตัว อาจทำให้เส้นเลือดที่โป่งพองแตกได้ แต่ในปัจจุบันโรคนี้เกิดในคนที่่อายุน้อยลง ในช่วงนี้ผมได้ดูแลคนไข้ในกลุ่มเหล่านี้ มาโรงพยาบาลเยอะขึ้น เพราะโรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการออกมา รู้ตัวอีกทีก็แตกเสียแล้ว ในตอนนั้นการรักษาและการฟื้นฟูใช้เวลานาน ดังนั้นถ้ารู้ตัวก่อนเราสามารถป้องกันอันตราย และเอาชีวิตรอดจากอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ และถึงแม้จะมาโรงพยาบาลเร็วแต่อาการแย่ไปมากโอกาสกลับมาเป็นปกติก็ยังยาก คนไข้เส้นเลือดสมองโป่งพองมักจะไม่รู้เลยว่าเป็นโรคนี้จะรู้ก็ต่อเมื่อเส้นเลือดโป่งพองแตกแล้ว อาการที่คนไข้มาโรงพยาบาลมักจะมี 4 กลุ่ม

1. เสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล
2. มาแบบโคม่า
3. มาแบบปวดหัวรุนแรง
4. หรือมาแบบพบโดยบังเอิญ เช่น มาด้วยอุบัติเหตุแล้วเอกซ์เรย์พบ เป็นต้น

            หากผู้ป่วยที่มาแบบอาการโคม่าเราทำการรักษาได้สำเร็จ แต่ผู้ป่วยก็ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาและฟื้นฟูนานพอสมควร หรือบางรายอาจพิการหรือเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นถ้าตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดเสียต้นๆและรักษาโดยไม่ต้องรอให้หลอดเลือดที่โป่งพองแตกแล้วค่อยมาโรงพยาบาล โรคหลอดเลือดสมองเป็นความผิดปกติของผนังหลอดเลือดแดง ที่มีมาแต่กำเนิด มักเกิดในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ และโรคระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ       ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การบาดเจ็บที่ศีรษะ ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อ เนื้องอก ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว และการสูบบุหรี่ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดโป่งพองได้ โรคหลอดเลือดโป่งพองสามารถเกิดได้กันทุกคนในทุกช่วงวัย โดยจะเกิดกับผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คนที่มีความเสี่ยงด้านพันธุ์กรรมก็จะมีความเสี่ยงเกิดโรคนี้มากกว่าผู้อื่น 

          ผมได้ทำการรักษาด้วยวิธีการใส่ขดลวดเพื่ออุดเส้นเลือดที่โป่งและวางท่อระบายน้ำเลี้ยงสมองเพื่อลดแรงดันในสมอง แต่เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มาโรงพยาบาลด้วยอาการแบบโคม่าดังที่กล่าวไปแล้ว ขณะนี้ยังต้องรักษาและฟื้นฟูในระยะยาว

          วิธีที่ดีที่สุด คือ การสืบค้นเส้นเลือดสมองโป่งพองโดยการวินิจฉัยด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ความเร็วสูง ซึ่งเป็นการตรวจดูเส้นเลือดในสมองว่ามีการโป่งพองหรือไม่



    "ผมเคยดูแลเคสผู้ป่วยรายหนึ่ง อายุไม่มาก 48 ปี และเป็นผู้บริหารระดับสูง 
ขณะนั่งกินข้าวเกิดอาการปวดหัวรุนแรง และมีอาการโคม่า มาถึงโรงพยาบาล
ต้องใส่ท่อช่วยหายใจเพราะไม่รู้สึกตัว และมีเลือดออกในสมองเยอะมาก"


นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า "อย่าปล่อยให้สมองมีระเบิดเวลา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวเอง ควรตรวจดูเส้นเลือดสมองเพื่อความผิดปกติ"



โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม
เบอรืโทรศัพท์ 053-920300


วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ซึมเศร้า (Depression)

เป็นโรคซึมเศร้านานๆ อาจทำให้เกิดความจำเสื่อม หรือ อัลไซด์เมอร์ได้

        มีการค้นพบว่าคนที่มีอาการซึมเศร้ามากๆ จะมีโอกาสเกิดโรคคามจำเสื่อม (Dementia) สูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 %  สาเหตุเบื้องต้นของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า และคนที่เป็นโรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ มีสาเหตุมาจากแหล่งเหมือนๆกัน ทำให้การเป็นโรคซึมเศร้านานๆก็อาจทำให้เป็นโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้

     เมื่อเป็นแบบนี้เมื่อรู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีคนใกล้ตัวเป็น ควรพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาเพื่อไม่ให้เลวร้ายลงกว่าเดิม


โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม
เบอร์โทรศัพท์ 053-9203000

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พิษร้ายของความเหงา (Loneliness)

ความเหงาอาจจะกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้


พิษร้ายของความเหงา (Loneliness)

     มีการเก็บสถิติแล้วพบว่าคนที่เหงาจะเกิดโรคได้เช่นกัน เช่น โรคหัวใจซึ่งเป็นมากกว่าคนปกติได้ถึง 29 % และยังอาจจะเป็นโรคสมองที่เกี่ยวกับการขาดเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่าคนปกติ 32 % ซึ่งโรคทั้งสองนี้น่ากลัวมาก เพราะอาจทำให้พิการและอันตรายถึงชีวิตได้ จึงทำให้เกิดการวิจัยและศึกษาว่าทำไมความเหงาถึงเป็นเป็นพิษร้ายได้มากขนาดนั้นจึงพบว่า 

     1. เกิดจากพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป กล่าวคือบางคนนั่งซึมไม่มีชีวิตชีวา จนทำให้บางคนเลือกที่จะสูบบุหรี่ หรือสูบอยู่แล้วก็จะสูบจัดมากขึ้น บางคนนั้นเน้นทานอาหาร ทานมากเกินไปไม่ถูกหลักโภชนาการ เช่น กินหวานมากหินแป้งมากเกินไปจนอาจจะทำให้เกิดโรคอ้วนตามมาได้
     2. ระบบการป้องกันของร่างกายเสื่อมลง
     3. มีความผิดปกติทางจิตเพิ่มขึ้น บางรายรุนแรงถึงกับจะฆ่าตัวตายเลยก็มี

     เมื่อเรารู้ว่าความเหงาทำอันตรายเป็นพิษร้ายแบบนี้ ดังนั้นเราควรต้องขจัดความเหงา โดยการพบปะสังสรรค์กับผู้คนให้มากขึ้น เช่น อยู่กับครอบครัว อยู่กับเพื่อนฝูง หรือหากิจกรรมงานอดิเรกที่เราชอบ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยขจัดความเหงาออกไปได้ และจะทำให้พิษของความเหงาลดลง


โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม
เบอร์โทรศัพท์ 053-920300

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

อกหัก อาจกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ?



อกหัก (Broken Heart)

     อกหักมีจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่กิริยาที่เกิดหลังจากการผิดหวังในเรื่องความรัก เลยทำให้เกิดอาการซึมเศร้า กินไม่ได้นอนไม่หลับ บางคนั้นถึงกับการคิดสั้นในการฆ่าตัวตาย ก็เกิดขึ้นบ่อยๆไป

     มีการศึกษาพบว่าคนที่มีการสูญเสียเฉียบพลัน โดยเฉพาะคู่แต่งงานที่ยังเป็นข้าวใหม่ปลามัน หรือคู่ที่ยังมีสุขภาพที่ดี ที่ไม่นึกไม่ฝันที่จะสูญเสียกันไปง่ายๆ แต่แล้วต้องเกิดการที่ต้องตายจากกันไปอย่างฉับพลัน เช่นเกิดจากอุบัติเหตุไม่คาดฝัน เป็นต้น จึงทำให้คนที่เหลืออยู่นั้นอาจจะเกิดความเครียดสูง เศร้าซึม และจะทำให้หัวใจเกิดเต้นไม่เป็นจังหวะ ที่เรียกว่า Atrail Fibrillation : AF ซึ่ง AF นี้เป็นตัวทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด หรือเกิดก้อนเลือดในหัวใจแล้วหลุดไปยังเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จนทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง อาจทำให้เกิดพิการหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นอาการที่เราเรียกว่าอกหัก หรือ Broken Heart อาจเป็นจริงแต่ไม่ใช่อาการอกหักที่เราคิดกันก็ได้...





     

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

5 โรคที่มากับอากาศร้อนจัด



          ช่วงนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งในปีนี้ประเทศไทยมีอากาศร้อนจัดมากกกว่าทุกๆปี เมื่ออากาศร้อนจัดก็จะเกิดโรคต่างๆ โรงพยาบาลเชียงใหม่ รามมีความห่วงใยกับทุกๆท่าน เพื่อที่จะให้เรารับมือและป้องกันโรคที่มากับอากาศร้อน

5 โรคที่มากับอากาศร้อนจัด


โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม
เบอร์โทรศัพท์ 053-920300
















วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

เล่น Sudoku วันละนิด เพื่อสมองที่แจ่มใส่



เล่น Sudoku วันละนิด เพื่อสมองที่แจ่มใส่

ขึ้นชื่อว่าเกมแล้วนั้น มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ซึ่งในปัจจุบันแล้วนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ไม่มีใครที่ไม่เคยเล่นเกม ไม่ว่าจะเป็นเกมพื้นบ้าน เกมคอมพิวเตอร์ เกมโทรศัพท์มือถือ หรือเกมคอนโซล เป็นต้น เกมเหล่านี้ถ้าเล่นให้เหมาะสมกับวัย หรือมีขอบเขตของตัวเอง จะทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นกับตัวเองเป็นอย่างมาก

เกมฝึกสมองนั้นเป็นเกมที่นิยมอีกเกมหนึ่งในปัจจุบัน เพราะสามารถเล่นได้ทุกวัย ทุกที่ ทุกเวลา ยกตัวอย่างเช่น เกมซูโดกุ (Sudoku) ซูโดกุ เป็นเกมแก้ปริศนาตัวเลขที่สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ได้ใช้สูตรคณิตศาสตร์ แต่ซูโดกุนั้น จะใช้ทักษะกระบวนการคิดเป็นระบบ ฝึกทักษะการสังเกต ฝึกฝนการจัดลำดับ รวมถึงการฝึกสมาธิ เนื่องจากการเล่นซูโดกุนั้นจะใช้สายตาในการกรอกไปมาจึงเป็นการกระตุ้นต่อสมองส่วนหน้า เพราะสมองส่วนหน้ามีความเกี่ยวข้องกับความจำ การกรอกตาไปมาจึงสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้าได้ อีกทั้งยังได้มีวิจัยพบว่า การเล่นซูโดกุ  สามารถลดและรักษาอาการความจำเสื่อม และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย

รู้แบบนี้แล้วว่าเกมก็มีประโยชน์ต่อสมองเหมือนกัน เพียงเล่นซูโดกุ วันละนิดเพื่อกระตุ้นให้สมองได้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ ก็จะห่างไกลจากโรคสมองเสื่อมได้ นอกจากการเล่นเกมแล้วนั้นยังมีกิจกรรมที่สามารถลดอาการของโรคสมองเสื่อมได้ เช่น การออกไปพบปะผู้คนใหม่ๆ การมีเพื่อนใหม่ๆ เข้าเรียนคอร์สศิลปะ เข้าคอร์สเรียนดนตรี หรือปักครอสติช กิจกรรมเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้สมองเกิดการเรียนรู้ จึงทำให้ลดโรคสมองเสื่อมได้


โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม
โทรศัพท์ 053-920300



วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

6 อาการน่าสงสัยเสี่ยงสมองเสื่อม


6 อาการน่าสงสัยเสี่ยงสมองเสื่อม

อย่าชะล่าใจว่า "การลืมของเราเป็นเพียงอาการเล็กน้อย"

สาเหตุของโรคสมองเสื่อมพบว่าเกิดจากสาร อะมัยลอนด์ (Amyloid) ไปเกาะและกระตุ้นการอักเสบของสมอง ความเสื่อมของสมองเมื่อเสียแล้ว ไม่สามารถแก้ไขกลับมาเป็นปกติได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เสื่อมมากขึ้นได้ หากได้แพทย์วินิจฉัยได้แต่เนิ่นๆ ก็สามารถใช้ยาบางชนิดการทำลายสาร "แอซิติลโคลีน" ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่อความจำทำให้ความจำเสียในอัตราที่ช้าลงได้

อย่าชะล่าใจว่าการลืมของเราเป็นเพียงอาการเล็กน้อยเพราะความเครียด หรือความใส่ใจ มันอาจจะเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย เพื่อให้เราไดตั้งรับโรคนี้ให้ทัน ควรสำรวจตัวเอง และคนที่คุณรักอยู่เสมอ...

โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้สนโรคหลอดเลือดสมอง เปิดให้บริการ
วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ 8.00 - 22.00 น.
วันเสาร์ และ วันอาทิตย์ 8.00 - 17.00 น.

ติดต่อสอบถามรายละเอียดดเพิ่มเติมได้ที่ 
เบอร์โทรศัพท์ 053-920300
Call Center 053-920333

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

โรคหลอดเลือดสมอง



โรคหลอดเลือดสมอง

สมอง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการทำงานทุกส่วนในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะต่างๆ การเคลื่อนไหวความคิด ความจำ ประสาทรับรู้หรือพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว
สุขภาพแข็งแรงของสมองจึงหมายถึงความราบรื่นของการดำเนินชีวิต แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีสมองที่แข็งแรง บางคนอาจเกิดความผิดปกติของสมองขึ้นได้ ซึ่งความผิดปกติของสมองที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง 

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคทางประสาทวิทยาที่พบบ่อยที่สุดโรงหนึ่ง ทั้งยังเป็นสาเหตุของความพิการ
อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นภาวะที่เราที่เรารู้จักกันดี แต่เพราะภาวะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน ภาวะสมองขาดเลือด หรือ STROKE อันเนื่องมาจากหลอดเลือดอุดตันนั้นเป็นสาเหตุใหญ่ของโรคหลอดเลือดสมอง โดยร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากการอุดตันของลิ่มเลือด อันที่จริง การสร้างลิ่มเลือดนั้นเป็นกลไกที่สำคัญในการห้ามเลือด และซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหาย แต่ลิ่มเลือดที่ก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดหรือที่หนึ่งที่ใดอย่างผิดที่ผิดทางนั้น สร้างความเสียหายอย่างมากเมื่อลิ่มเลือดนั้นไปกีดขวางไม่ให้เลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือดได้อย่างสะดวก    

ภาวะสมองขาดเลือดจากการอุดตันของลิ่มเลือด เกิดขึ้นได้ 2 กรณี
กรณีแรก คือเกิดลิ่มเลือดขึ้นในบริเวณอื่น ๆ และไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ส่วนอีกกรณีหนึ่ง คือมีลิ่มเลือดก่อตัวอยู่ในหลอดเลือดสมอง เวลาผ่านไป ลิ่มเลือดจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมองในที่สุด นอกจากลิ่มเลือดแล้ว หลอดเลือดยังอาจตีบแคบได้เนื่องจากการสะสมตัวของไขมันในหลอดเลือดจนส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง มีความยืดหยุ่นน้อยลง และลดประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลงไป
หลอดเลือดสมองปริแตก หรือฉีกขาด ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉันพลัน ทั้งยังก่อให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างร้ายแรง โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากหลอดเลือดสมองแตกนั้น คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นทั้งหมด

สาเหตุที่นำไปสู่การปริแตกของหลอดเลือด เป็นไปได้ 2 กรณี คือ
การที่หลอดเลือดมีความเปราะบาง ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ประกอบกับผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง ส่งผลให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพอง และแตกออก ส่วนอีกกรณีหนึ่ง ได้แก่การที่หลอดเลือดนั้นสูญเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง

อาการของโรค
เมื่อเลือดที่จะไปเลี้ยงสมองมีปริมาณลดลง หรือถูกจำกัด สมองส่วนนั้นจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติซึ่งจะมีอาการแสดงต่าง ๆ แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรง และตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือด
อาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้ คือ
                    ชาบริเวณแขน ขา ใบหน้า หรือบริเวณข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
•     สับสน มีปัญหาทางการสื่อสาร พูดไม่เข้าใจ
•     เห็นภาพซ้อน ตามัว (เพียงข้างเดียว)
•     เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
•     วิงเวียน ทรงตัวไม่อยู่ บางรายอาจเป็นลมหมดสติ
      หากคุณ หรือคนใกล้ชิดมีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และรีบจัดการส่งตัวผู้ป่วยให้ถึงมือแพทย์โดยทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองนั้นเป็นอาการร้ายแรงซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต หรืออาจไม่ถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลให้ผู้ป่วยกลายเป็นผู้พิการ ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และต้องใช้เวลาฟื้นฟูสุขภาพต่อไปอีกนาน
      
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมีหลายประการประกอบกัน และส่วนมากมาจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้
ความดันโลหิตสูง จัดว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นประมาณ 4 ถึง 6 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มีความดันปกติ (120/80 มิลลิเมตรปรอท)
โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาเรื่องอื่น ๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ ซึ่งเมื่อปัจจัยทั้งหมดนี้รวมกัน ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองย่อมเพิ่มขึ้นไปด้วย
ไขมันในเลือดสูง คนส่วนมากทราบกันดีว่า ภาวะไขมันในเลือดสูงนั้นเป็นความเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจ หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดจากภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด กีดขวางการลำเลียงเลือด ลักษณะเช่นนี้ เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกัน
            
            การสูบบุหรี่และดื่มสุรา การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง หากไม่คิดรวมปัจจัยเสี่ยงประการอื่น ๆ การสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองขึ้นถึงร้อยละ 3.5 และความเสี่ยงดังกล่าวนี้จะลดลงทันทีเมื่อเลิกสูบบุหรี่
สำหรับการดื่มสุราซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ก็เป็นความเสี่ยงประการหนึ่งของหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว การดื่มสุราในปริมาณมาก ๆ นั้นส่งผลให้เลือด อ่อนตัวเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก เมื่อเกิดการปริแตกของหลอดเลือดในสมอง ประกอบกับความดันโลหิตสูง และภาวะเลือดออกง่ายจากการดื่มสุรา ความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมองย่อมต้องมากขึ้น2
นอกจากปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย ความอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ประวัติครอบครัว และปัจจัยเรื่องอายุ           


โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลาย ๆ ประการ อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในหลอดเลือด การดื่มสุรา การสูบบุหรี่หรือการออกกำลังกายล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งสิ้น งดสูบบุหรี่ ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ย่อมจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคลงไปได้มาก




โรคหลอดเลือดสมอง
สมอง อวัยวะที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการทำงานทุกส่วนในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะต่างๆ การเคลื่อนไหวความคิด ความจำ ประสาทรับรู้หรือพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว สุขภาพแข็งแรงของสมองจึงหมายถึงความราบรื่นของการดำเนินชีวิต แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีสมองที่แข็งแรง บางคนอาจเกิดความผิดปกติของสมองขึ้นได้ ซึ่งความผิดปกติของสมองที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคทางประสาทวิทยาที่พบบ่อยที่สุดโรงหนึ่ง ทั้งยังเป็นสาเหตุของความพิการอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นภาวะที่เราที่เรารู้จักกันดี แต่เพราะภาวะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน ภาวะสมองขาดเลือด หรือ STROKE อันเนื่องมาจากหลอดเลือดอุดตันนั้นเป็นสาเหตุใหญ่ของโรคหลอดเลือดสมอง โดยร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากการอุดตันของลิ่มเลือด อันที่จริง การสร้างลิ่มเลือดนั้นเป็นกลไกที่สำคัญในการห้ามเลือด และซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหาย แต่ลิ่มเลือดที่ก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดหรือที่หนึ่งที่ใดอย่างผิดที่ผิดทางนั้น สร้างความเสียหายอย่างมากเมื่อลิ่มเลือดนั้นไปกีดขวางไม่ให้เลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือดได้อย่างสะดวก     

ภาวะสมองขาดเลือดจากการอุดตันของลิ่มเลือด เกิดขึ้นได้ 2 กรณี
กรณีแรก คือเกิดลิ่มเลือดขึ้นในบริเวณอื่น ๆ และไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ส่วนอีกกรณีหนึ่ง คือมีลิ่มเลือดก่อตัวอยู่ในหลอดเลือดสมอง เวลาผ่านไป ลิ่มเลือดจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมองในที่สุด นอกจากลิ่มเลือดแล้ว หลอดเลือดยังอาจตีบแคบได้เนื่องจากการสะสมตัวของไขมันในหลอดเลือดจนส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง มีความยืดหยุ่นน้อยลง และลดประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลงไป
หลอดเลือดสมองปริแตก หรือฉีกขาด ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉันพลัน ทั้งยังก่อให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างร้ายแรง โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากหลอดเลือดสมองแตกนั้น คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นทั้งหมด

สาเหตุที่นำไปสู่การปริแตกของหลอดเลือด เป็นไปได้ 2 กรณี คือ
การที่หลอดเลือดมีความเปราะบาง ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ประกอบกับผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง ส่งผลให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพอง และแตกออก ส่วนอีกกรณีหนึ่ง ได้แก่การที่หลอดเลือดนั้นสูญเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง      

อาการของโรค
           เมื่อเลือดที่จะไปเลี้ยงสมองมีปริมาณลดลง หรือถูกจำกัด สมองส่วนนั้นจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติซึ่งจะมีอาการแสดงต่าง ๆ แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรง และตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือด
อาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้ คือ
       ชาบริเวณแขน ขา ใบหน้า หรือบริเวณข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
•     สับสน มีปัญหาทางการสื่อสาร พูดไม่เข้าใจ
•     เห็นภาพซ้อน ตามัว (เพียงข้างเดียว)
•     เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
•     วิงเวียน ทรงตัวไม่อยู่ บางรายอาจเป็นลมหมดสติ
    
   หากคุณ หรือคนใกล้ชิดมีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และรีบจัดการส่งตัวผู้ป่วยให้ถึงมือแพทย์โดยทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองนั้นเป็นอาการร้ายแรงซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต หรืออาจไม่ถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลให้ผู้ป่วยกลายเป็นผู้พิการ ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และต้องใช้เวลาฟื้นฟูสุขภาพต่อไปอีกนาน



วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เคล็ดลับง่ายๆ ที่จะสร้าง “หัวใจแข็งแรง”


เคล็ดลับง่ายๆ ที่จะสร้าง หัวใจแข็งแรง

โรคหัวใจเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยไปเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญคือ ส่วนใหญ่เป็นคนวัยทำงาน อายุระหว่าง 35-65 ปี ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว

จากสถิติของมูลนิธิโรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ รายงานว่า ทุกๆ 9 นาที มีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 1 ราย และเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังกลับไปแล้วพบว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นมากจาก ผู้ป่วย 100,000 คน มีอัตราการตาย 16 ราย แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 108 ราย

ปัจจุบันได้มีการเริ่มรณรงค์ให้ความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ และจากการศึกษาทำให้เราพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ 
ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ มาจากเพศ อายุ และพันธุกรรม พบว่า
 เพศชาย จะมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายก่อนเพศหญิง 10 ปี
 เพศหญิงมีอัตราการเสียชีวิตภายหลังการเกิดภาวะหัวใจวายร้อยละ 45 มากกว่าเพศชาย ซึ่งมีเพียงร้อยละ 25
-  เมื่ออายุมากกว่า 65 ปี อัตราการเกดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น
 อัตราการเกิดโรคจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ อายุที่เพิ่มขึ้น 10 ปี ในขณะเดียวกันอัตราการตายก็จะสูงขึ้นเช่นกัน
พันธุกรรมมีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ พบว่าผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคหัวใจ และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจของคุณจะเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับทุกคน และดำเนินชีวิตไปพร้อมกับชีวิตเรา  แต่ในขณะเดียวกัน ปัจจัยบางอย่างควบคุมได้ ละส่งผลต่อการเกิดโรคมากกว่าปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เสียอีก








ปัจจัยที่ควบคุมได้
ปัจจัยที่ควบคุมได้นี้เป็นสิ่งที่เราควรใส่ใจมากเป็นพิเศษ และมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีญาติพี่น้องป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ และมีอายุมากแล้ว แต่ไม่ได้เจ็บป่วยตามไปด้วย  เคล็ดลับง่ายๆ ในการดูแลหัวใจของคุณให้แข็งแรง มีดังนี้

1. รับประทานให้เหมาะสม รับประทานผัก ผลไม้ หรือธัญพืชให้มากขึ้น เลือกใช้น้ำมันชนิดไม่อิ่มตัวในการประกอบอาหาร เลือกดื่มนม หรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มี ไขมันต่ำ เพิ่มการรับประทานอาหารประเภทปลา งดการรับประทานอาหารมันๆ จนสะสมคอเลสเตอรอลไว้ในเส้นเลือดปริมาณมาก
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ หลายคนมักให้เหตุผลว่าที่ ไม่ออกกำลังกาย เพราะไม่มีเวลา หรืออ้วนมากเกินไป จนไม่อยากออกกำลังกาย เราอาจจะออกกำลังกายแบบง่ายๆ ด้วยการเดินวันละครึ่งชั่วโมง  เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ลดความดันโลหิต เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด ลดการการสะสมคอเลสเตอรอลในเลือด และผนังหลอดเลือดแข็ง
3. ควบคุมน้ำหนัก  น้ำหนักตัวที่เกินส่งผลต่อสุขภาพร่างกายหลายประการ รวมทั้งส่งผลต่อการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
4. ลดความเครียด หาแนวทางผ่อนคลาย เพราะความเครียดเป็นตัวบ่อนทำลายสุขภาพ และเพิ่มอัตราการเกิดความดันโลหิตสูง
5. ลด ละ เลิก พฤติกรรมเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ อาหารการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่ออาการเกิดโรค เช่นการสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้อัตราการการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า นอกจากนี้บุหรี่ยังไปทำให้ระดับ คอเลสเตอรอลชนิดดีในกระแสเลือดลดลง



เคล็ดลับง่ายๆ นี้จะช่วยทำ หัวใจของเราแข็งแรงได้  เพียงแต่เราต้อง เริ่ม เริ่มรักหัวใจ และรักตัวคุณเอง  เพราะ หัวใจ.. มีค่ายิ่งกว่าอื่นใด




วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559



มีบางท่านสงสัยว่า อาการเจ็บหน้าอก เกิดจากสาเหตุอะไร ?


ความจริงแล้วอาการเจ็บหน้าอกไม่ใช่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันหรือตีบตันอย่างเดียว "อาการเจ็บหน้าอก อาจเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคทางเดินหายใจลามมาที่ปอด หรือเยื้อหุ้มปอดอักเสบ ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้เช่นกัน แต่มีเพียง 2-3 สาเหตุเท่านั้นที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบมานั้น ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกจะมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันหรือตีบตัน"


โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันนั้น มีสาเหตุหลายประการ แต่หลักฐานทางการแพทย์ได้ยืนยันถึงปัจจัยหลัก ซึ่งเป็นทั้งสาเหตุ และภาวะเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมี 3 ประการ คือ

1. ความดันโลหิตสูง
2. การสูบบุหรี่
3. ภาวะไขมันในเลือดสูง 

โดยเฉพาะไขมันชนิดไม่ดี (LDL-Cholesterol) จัดเป็นไขมันตัวร้าย ที่นำคราบไขมันจากทางเดินอาหารและตับไปทิ้งไว้ตามผนังเส้นเลือด และหากสะสมอยู่ในหลอดเลือดในปริมาณมาก จะนำมาซึ่งหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตันตามมา จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดอุดตัน หากไม่ได้การรักษาที่ทันท่วงที อาการเจ็บหน้าอกอากเป็นอันตรายถึงชีวิตได้




โรงพยาบาลเชียงใหม่ รามมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดหัวใจ
โทรศัพท์ 053-895551